
เกษตรสิเกา ขับเคลื่อนการดำเนินงานเครือข่ายผู้ปลูกทุเรียนอำเภอสิเกา
…………………………………….
วันที่ 22 มกราคม 2558 นางสาวสุมนรัตน์ ตรึกตรอง เกษตรอำเภอสิเกา พร้อมด้วยนายไพโรจน์ เพชรจำรัส นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ร่วมกับเครือข่ายผู้ปลูกทุเรียนอำเภอสิเกา จัดกิจกรรมบรรยายเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการทำทุเรียนออกดอกพร้อมกัน” โดยมี รศ.ดร.สมพร ณ นคร อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่ เป็นวิทยากร โดยมีเนื้อหารายละเอียด ดังนี้
ขั้นตอนการเตรียมต้นให้ทุเรียนให้ออกดอก
(การสะสมอาหาร/การใช้สารพาโคลบิวทราโซล/การกักโสก/การดูแลดอกทุเรียน)
1. การสะสมอาหารโดยใช้ปุ๋ยทางใบและทางดิน
1.1 ทางดิน
ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนต่ำและมีธาตุฟอสฟอรัสสูง เพื่อให้ต้นทุเรียนเกิดการสะสมคาร์โบไอเดรทในลำต้นกิ่งใบมากขึ้น โดยใส่ก่อนออกดอกประมาณ 1 เดือน เช่น ปุ๋ยที่มีสัดส่วน N-P-K 1:3:3 หรือ 1:5:5 อัตรา เช่น 8-24-24 / 4-
24-24 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น(ขึ้นอยู่กับอายุของต้น) หลังใส่ปุ๋ยควรให้น้ำตามปกติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ย
1.2 ทางใบ
-ใช้ปุ๋ยเกล็ดที่มี N ต่ำ 1-2 ครั้ง เช่น 8-26-26/4-24-24 / 6-12-26 อัตราตามฉลาก ตามด้วยปุ๋ยเกล็ดเพื่อสะสมอาหารและป้องกันการแตกยอดใหม่ด้วยปุ๋ยทางใบ 0-52-34 (Monopotassium phosphate) อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ 0-40-54 (Tetrapotassium pyrophosphate) อัตรา 20-30กรัม/น้ำ 20 ลิตร
-สาหร่าย/อะมิโน/ธาตุรองเสริม/แคลเซียม-โบรอน
2. ฉีดพ่นสารสารพาโคลบิวทราโซล
การใช้สารบังคับให้ทุเรียนออกดอกได้ดีที่สุด คือ การใช้สารพาโคลบิวทราโซล ใช้ชักนำการออกดอกของทุเรียนออกดอกได้
อัตราการใช้
ความเข้มข้น 10 % อัตรา 10 กก./น้ำ 1000 ลิตร
ความเข้มข้น 15 % อัตรา 6.7 กก./น้ำ 1000 ลิตร
ความเข้มข้น 25 % (ชนิดน้ำ) อัตรา 4 ลิตร/น้ำ 1000 ลิตร จะได้ความเข้มข้นเท่ากับ 1000 ppm
*** กรณีต้นทุเรียนอายุ 5 ปี ควรใช้ สาร Paclobutrazol ความเข้มข้นเท่ากับ 500-600 ppm
3. การจัดการให้ดินโคนต้นแห้งได้เร็วขึ้น ต้องเปิดโคนต้นให้โล่งเตียน 3. การจัดการให้ดินโคนต้นแห้งได้เร็วขึ้น ต้องเปิดโคนต้นให้โล่งเตียน การรดน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของดอก ช่วงที่ต้นทุเรียนกำลังเริ่มที่จะมีดอก ช่วงนี้เป็นช่วงที่สมควรเพิ่มปริมาณ ปกติจะรดน้ำอยู่ที่เวลา 30 นาที ให้เพิ่มเป็น 50 นาที รดน้ำวันเว้นวันและรดให้เต็มวงทรงพุ่ม
4. การบำรุงดอกให้ดอกมีความสมบูรณ์มากขึ้น ต้องให้ปุ๋ยทั้งทางใบและทางดิน – สารอาหารที่ใช้ฉีดบำรุงทางใบ
นั้น จะประกอบไปด้วย 1.แคลเซียม-โบรอน 2.อะมิโน 3.สาหร่าย 4.ธาตุอาหารเสริมทุกชนิด จะทำให้ดอกมี
ลักษณะช่อยาว ช่อใหญ่ ก้านดอกอวบสมบูรณ์และมีการพัฒนาการที่ สำหรับสวนใดที่ใช้สารดอกมีลักษณะเป็น
กระจุกๆ ขั้วดอกจะสั้น ช่วงดอกระยะตาปูหรือเหยียดตีนหนู เป็นช่วงที่ควรจะใช้ “จิ๊บ” ถ้าขั้วดอกสั้นไม่มากก็ใช้
“จิ๊บ” แค่ 1 ครั้งก็เพียงพอ แต่ขั้วดอกสั้นมากมากๆสามารถใช้“จิ๊บ” 2 ครั้งได้ อัตราการใช้จิ๊บ ถ้าเป็นจิ๊บชนิดเม็ด
ให้ใช้ 1 เม็ดต่อน้ำได้ 200 ลิตร แต่ถ้าเป็นจิ๊บชนิดน้ำให้ใช้ 100cc ต่อน้ำ 200 ลิตร
ส่วนของทางดิน – ช่วงดอกระยะเหยียดตีนหนู แล้วมีจำนวนดอกที่พอต้นแล้ว ปุ๋ยทางดินแนะนำให้ใส่เป็น
ปุ๋ยเคมี N-P-K 3-1-4 หรือสูตรเสมอ 1-1-1 ก็ได้
ในการนี้ นายสมนึก คงชู เกษตรจังหวัดตรัง ร่วมบรรยายแลกเปลี่ยนความรู้ในการปลูกทุเรียน รวมทั้งแนวทางการขับเคลื่อนทุเรียนจังหวัดตรังให้เป็นทุเรียนที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด ณ สวนทุเรียนนายพงษ์พันธ์ กิตติเวชวรกุล หมู่ที่ 7 ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ภาพ/ข่าว/รายงาน : นายไพโรจน์ เพชรจำรัส นวส.ปฏิบัติการ










