July 18, 2025
วันที่ 22 มกราคม 2568 นางสาวสุมนรัตน์ ตรึกตรอง เกษตรอำเภอสิเกา มอบหมายให้นางสาวจอมทอง ชัยภักดี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสิเกา ร่วมกับเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดุหุนสามัคคีสู้ผู้ประกอบการด้านการเกษตร โดยการนำสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดุหุนสามัคคีศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ ณ ที่ทำการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านควนชก ตำบลบ้านลำนาว อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

เกษตรสิเกา จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดุหุนสามัคคีสู่ผู้ประกอบการด้านการเกษตร ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช

……………………….

วันที่ 22 มกราคม 2568 นางสาวสุมนรัตน์ ตรึกตรอง เกษตรอำเภอสิเกา มอบหมายให้นางสาวจอมทอง ชัยภักดี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสิเกา ร่วมกับเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดุหุนสามัคคีสู้ผู้ประกอบการด้านการเกษตร โดยการนำสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดุหุนสามัคคีศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ ณ ที่ทำการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านควนชก ตำบลบ้านลำนาว อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนายประยุทธ ทองพุ่ม นายอำเภอบางขัน พร้อมด้วยปลัดอาวุโส เกษตรอำเภอบางขัน เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชและสำนักงานเกษตรอำเภอบางขัน ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ครูและนักเรียนโรงเรียนบางขันวิทยา และสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านควนชกให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านควนชก มีกิจกรรม จำนวน 5 กิจกรรม ประกอบด้วย

1. กิจกรรมผลิตเครื่องแกง มีสมาชิก จำนวน 23 ราย ผลิตเครื่องแกงจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ เครื่องแกงส้ม เครื่องแกงคั่ว เครื่องแกงกะทิ ซึ่งได้รับมาตรฐาน GMP อย. และฮาลาล โดยวัตถุดิบในการทำเครื่องแกงสมาชิกในกลุ่มจะปลูกเองและนำมาขายให้กลุ่มผลิตเครื่องแกง

2. กิจกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า มีสมาชิก จำนวน 13 ราย ตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี กระเป๋า ถุงผ้า

3. กิจกรรมแปรรูปจากต้นชก มีสมาชิก จำนวน 13 ราย มีการแปรรูปต้นชกจากส่วนต่างๆ เป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาสมุนไพร และเครื่องใช้ต่างๆ

4. กิจกรรมทำผ้ามัดย้อมจากสีต้นชก มีสมาชิก จำนวน 14 ราย ซึ่งกิจกรรมกลุ่มนี้เป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมกับกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า

5. กิจกรรมธนาคารอนุรักษ์พันธุ์ชก มีสมาชิก จำนวน 8 ราย กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่ออนุรักษ์ต้นชกขี้หนู ซึ่งเป็นพืชอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน ใช้แนวคิด 1 ชก 1 บ้าน ปัจจุบันมีจำนวนต้นชกจากการทำกิจกรรมจำนวน 4,240 ต้น

ในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มจะยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้มีความมั่นคงด้านอาหารในชุมชน สมาชิกและคนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายของกิจกรรมผ่านเครือข่ายท่องเที่ยวเชิง ผลิตภัณฑ์ OTOP วิสาหกิจชุมชน ซึ่งกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รถห้องว่างระหว่างคน 3 วัย ส่งผลให้ชุมชนมีความมั่นคง เข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป

ภาพ : เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสิเกา

ข่าว/รายงาน : นายไพโรจน์ เพชรจำรัส นวส.ปฏิบัติการ