July 18, 2025
วันที่ 18 ตุลาคม 2567 นางสาวสุมนรัตน์ ตรึกตรอง เกษตรอำเภอสิเกา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสิเกา ลงพื้นที่ติดตามอาการผิดปกติของปาล์มน้ำมัน ซึ่งได้รับแจ้งจากนายจรินทร์ พาณิชย์กุล เจ้าของแปลง ว่าพบอาการผิดปกติของปาล์มน้ำมัน ได้แก่ ผลปาล์มน้ำมันเน่า ทะลายปาล์มน้ำมันมีขนาดเล็กลง และดอกปาล์มแห้งเหี่ยว ไม่ติดผล

เกษตรสิเกา ลงพื้นที่ติดตามอาการผิดปกติของปาล์มน้ำมัน ตำบลไม้ฝาด

…………………………….

วันที่ 18 ตุลาคม 2567 นางสาวสุมนรัตน์ ตรึกตรอง เกษตรอำเภอสิเกา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสิเกา ลงพื้นที่ติดตามอาการผิดปกติของปาล์มน้ำมัน ซึ่งได้รับแจ้งจากนายจรินทร์ พาณิชย์กุล เจ้าของแปลง ว่าพบอาการผิดปกติของปาล์มน้ำมัน ได้แก่ ผลปาล์มน้ำมันเน่า ทะลายปาล์มน้ำมันมีขนาดเล็กลง และดอกปาล์มแห้งเหี่ยว ไม่ติดผล โดยแปลงปาล์มน้ำมันมีพื้นที่ 50 ไร่ อายุ 12 ปี ปลูกพันธุ์ยูนิวานิช และพันธุ์โกเดนเทเนอร่า ระยะปลูก 9*9 เมตร

จากการวิเคราะห์เบื้องต้น

1. ปัจจัยเรื่องสภาพอากาศแล้งและฝนทิ้งช่วง ในระหว่าง 1-2 ปีที่ผ่านมา อาจทำให้เกิด ดอกตัวเมียฝ่อ รวมทั้งการพัฒนาของผลไม่ดีเนื่องจากการขาดน้ำ ซึ่งนำพาน้ำและธาตุอาหารไปเลี้ยงดอกและผลปาล์มน้ำมัน

2.ปัจจัยกระทบแล้งและฝนตกชุก ฟ้าปิดติดต่อกันทำให้ผลปาล์มน้ำมันเกิดการเน่า ร่วมกับเกิดใบจุดสาหร่ายในใบปาล์มน้ำมัน

3. การจัดการธาตุอาหารในปาล์มน้ำมัน ยังไม่เหมาะสม เช่น มีการใส่ปุ๋ย ห่างกันเกินควรใส่ครั้งละน้อย บ่อยครั้ง อย่างน้อยปีละ 3ครั้ง แนะนำใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ถ้าให้ละเอียดต้องมีการวิเคราะห์ใบเพื่อทราบว่าในดินพืชสามารถนำไปให้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงได้

**แนะนำการจัดการสวนในช่วงแล้ง

-รีบใส่ปุ๋ยก่อนถึงช่วงแล้ง ประมาณ พย.-มค.

-ไม่ควรกำจัดวัชพืชในช่วงหน้าแล้ง ปล่อยให้วัชพืชคลุมดินเพื่อเก็บความชื้น ควรตัดไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้า

-การตัดแต่งทางใบ ควรเก็บทางใบเป็นกองระหว่างต้น ระหว่างแถวเพื่อคลุมดินและธาตุอาหารกลับสู่ดิน

-คลุมดินด้วยทะลายเปล่าหรือฟางข้าวคลุมโคนปาล์ม เพื่อรักษาความชื้น และอินทรีย์วัตถุให้ดิน

**แนะนำหลังกระทบแล้ง

-ควรใส่ปุ๋ยสูตรเสมอก่อนเพื่อเร่งให้ทุกส่วนของพืชแข็งแรงก่อน หลังจาากนั้นตามด้วย สูตรเน้นตัวหลังเพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นเช่นเดิม ปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสม่ำเสมอทั้งปี ต้องได้ธาตุอาหารอย่างสม่ำเสมอ

4.ระยะการปลูกมีผลต่อการให้ผลผลิต เนื่องจากการรับแสงและความโปร่งของต้น การเกิดใบจุดสาหร่าย การเกิดผลเน่าเมื่อฝนตกชุก

**แนะนำ การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และใบ และการใช้ระบบน้ำในแปลงปาล์ม

ภาพ : เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสิเกา

ข่าว : เกษตรอำเภอสิเกา

รายงาน : นายไพโรจน์ เพชรจำรัส นวส.ปฏิบัติการ